ประวัติ ของ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกเมื่อปีการศึกษา 2541 ใน 3 หลักสูตร อันได้แก่ เทคนิคการแพทย์, อนามัยสิ่งแวดล้อม, อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้นปีการศึกษา 2548 ได้เปิดสอนหลักสูตรกายภาพบำบัด ซึ่งการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรีทุกหลักสูตรดังกล่าวนับเป็นแห่งแรกในภาคใต้ของประเทศไทย เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม เนื่องด้วยเป็นสาขาที่ขาดแคลน[7]

กระทั่งต่อมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีนโยบายในการแยกสำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ เป็นสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ และสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ซึ่งเป็น 2 สำนักวิชาใหม่ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559[7]

ส่วนเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องทางเทคนิคการแพทย์ คือการประชุมวิชาการระดับนานาชาติและนานาชาติทางชีวเวชศาสตร์และเทคนิคการแพทย์ โดยได้รับ 10.5 คะแนนจากสภาเทคนิคการแพทย์[8]

ครั้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 โรงพยาบาลโรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง ได้ร่วมลงนามความร่วมมือกับสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อความร่วมมือด้านการฝึกอบรม, การพัฒนางานวิจัย และสนับสนุนการเรียนการสอน[9] ซึ่งปีเดียวกันนี้ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้คัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีรอบที่ 2 ในโควตาพื้นที่จังหวัดภาคใต้ โดยใช้คะแนนเฉลี่ยสะสม กับแฟ้มสะสมผลงาน หรือคะแนนสอบจากส่วนกลาง[10]

และในปีการศึกษา 2564 สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เปิดหลักสูตรเทคนิคการแพทย์นานาชาติเป็นแห่งแรกของประเทศไทย[11][12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ http://www.mtcouncil.org/site/content/view/835/%E0... http://www.trangskin.go.th/news20200207/ http://www.mtc.or.th/show_act.php?vtrain_id=3064 https://www.facebook.com/SAHWU https://education.kapook.com/view68002.html https://www.komkhaotuathai.com/contents/11671 https://konnakhon.com/3880/ https://www.thethaipress.com/2020/17886/ https://www.komchadluek.net/news/edu-health/418727 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article...